สำหรับสถานประกอบการ
การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และฝึกอบรมวิชาชีพ
สถานประกอบการที่เข้าร่วมจัดการอาชีวศึกษา
สถานประกอบการที่ประสงค์จะจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพต้องเป็นสถานประกอบการที่ดำเนินการตามกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอและการพิจารณาเพื่อการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพของสถานประกอบการ
สถานประกอบการต้องปฏิบัติดังนี้
สถานประกอบการต้องให้ความร่วมมือดังนี้ผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
1. จัดลักษณะงานที่ฝึกอาชีพให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในสาขาวิชาที่ผู้เรียนกำลังศึกษา
2. จะทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน
3. จัดทำสัญญาการฝึกอาชีพระหว่างผู้เรียนกับสถานประกอบการ
4. จัดทำแผนการเรียนแผนการฝึกอาชีพและแผนการนิเทศตลอดหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน
5. จัดการประเมินการฝึกอาชีพร่วมกับสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน
6. จัดให้มีครูฝึกในสถานประกอบการ
7. จัดให้มีผู้ประสานงานและผู้ควบคุมการฝึกอาชีพของสถานประกอบการ
8. จัดให้มีการประชาสัมพันธ์การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้ผู้เรียนผู้ปกครองและชุมชนทราบ
9. จัดสวัสดิการหรือและหรือเบี้ยเลี้ยงที่เหมาะสมให้กับผู้เรียนตามข้อตกลง
คุณสมบัติและจำนวนครูฝึกในสถานประกอบการ
คุณสมบัติและจำนวนครูฝึกในสถานประกอบการต้องเป็นไปตามเกณฑ์ดังนี
1. เป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาและผ่านการศึกษาหรือฝึกอบรมวิชาการศึกษาด้านอาชีพ
2. เป็นผู้ชํานาญการด้านการอาชีพโดยสําเร็จการศึกษาวิชาชีพไม่ต่ํากว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ หรือมาตรฐานอื่นตามที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากําหนด
3. เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีพเฉพาะสาขาซึ่งสําเร็จการศึกษาวิชาชีพไม่ต่ํากว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่มีประสบการณ์ในสาขาอาชีพนั้นไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือสําเร็จการศึกษาวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงที่มีประสบการณ์ในสาขาอาชีพนั้นไม่น้อยกว่าสามปี หรือผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและมีประสบการณ์ในการทํางาน ในสาขาอาชีพนั้นไม่น้อยกว่า 5 ปี
4. เป็นผู้มีประสบการณ์และประสบความสําเร็จในอาชีพเฉพาะสาขามีผลงานเป็นที่ยอมรับในสังคมและท้องถิ่น และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้หลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งการทดสอบ การฝึกอบรม และการออกใบรับรองการเป็นครูฝึก ในสถานประกอบการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากําหนด
5. มีจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนด
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงต้องมีครูฝึก 1 คนต่อผู้เรียนไม่เกิน 10 คน
ระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการต้องมีครูฝึก 1 คนต่อผู้เรียนไม่เกิน 8 คน
6. ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูฝึกตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
การกำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การทดสอบ การฝึกอบรม และการออกใบรับรอง การเป็นครูฝึกในสถานประกอบการ
“การฝึกอบรม” คือ การฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการแต่งตั้งเป็นครูฝึกในสถานประกอบการ
“ครูฝึก” คือ ผู้ซึ่งผ่านการทดสอบ การฝึกอบรม หรือมีประสบการณ์สอนในสถานประกอบการ และได้รับใบรับรองการเป็นครูฝึกในสถานประกอบการ
ผู้ใดประสงค์จะเป็นครูฝึกต้องผ่านการทดสอบประเมินความรู้เพื่อเป็นครูฝึกในสถานประกอบการ หรือต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการเป็นครูฝึกในสถานประกอบการไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง เว้นแต่มีประสบการณ์สอนในสถานประกอบการที่ร่วมมือกันจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ผู้ที่ผ่านการทดสอบ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 การทดสอบหรือการฝึกอบรมต้องดำเนินการในสถาบันการอาชีวศึกษา สถานศึกษาอาชีวศึกษา สถานประกอบการ หรือสถานที่อื่น ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษารับรอง รายการค่าใช้จ่ายในการทดสอบ และการฝึกอบรมต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกันระหว่างสถานประกอบการกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ผู้ผ่านการทดสอบหรือการฝึกอบรม ผู้จัดการทดสอบหรือจัดการฝึกอบรมดำเนินการออกใบรับรองการเป็นครูฝึกในสถานประกอบการให้แก่ผู้นั้นภายใน 50 วัน นับแต่วันผ่านการทดสอบหรือสิ้นสุดการฝึกอบรม
สำหรับผู้มีประสบการณ์สอนในสถานประกอบ หากสถานประกอบการประสงค์จะแต่งตั้งให้เป็นครูฝึก ให้สถาบันการอาชีวศึกษา หรือสถานศึกษาอาชีวศึกษาดำเนินการออกใบรับรองการเป็นครูฝึกในสถานประกอบการให้แก่ผู้นั้นภายใน 50 วันนับแต่วันที่ร้องขอ
ใบรับรองการเป็นครูฝึกให้มีอายุ 5 ปี และให้ต่อได้อีกครั้งละ 5 ปี ทั้งนี้ให้สถาบันการอาชีวศึกษาหรือสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่ออกใบรับรองการเป็นครูฝึกในสถานประกอบการจัดทำบัญชีรายชื่อครูฝึกไว้ เพื่อการรับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด
สิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบกิจการ ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
สถานประกอบการ สมาคมวิชาชีพ หรือองค์กรอื่นที่ให้ความร่วมมือในการจัด การอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพ อาจได้รับสิทธิและประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. การสนับสนุนด้านวิชาการและทรัพยากรตามสมควรแก่กรณี
2. การเชิดชูเกียรติแก่สถานประกอบการ สมาคมวิชาชีพ หรือองค์กรอื่นที่ให้ความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ